แนะนำหลักสูตรปริญญาโท (ภาคพิเศษ)

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม (ภาคพิเศษ) 

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทยหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม
ภาษาอังกฤษMaster of Business Administration Program in Industrial Administration and Development

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็มบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม)
ชื่อย่อบธ.ม. (การบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม)
ชื่อเต็มMaster of Business Administration (Industrial Administration and Development)
ชื่อย่อM.B.A. (Industrial Administration and Development)

โครงสร้างหลักสูตร แผนการเรียน และจำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

รูปแบบของหลักสูตร

รูปแบบหลักสูตรปริญญาโท
ภาษาที่ใช้ภาษาไทย
การรับเข้าศึกษารับนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติที่ใช้ภาษาไทยได้ดี
ความร่วมมือกับสถาบันอื่นเป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบัน
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษาให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  • ปรัชญา

     เพื่อผลิตบุคลากรที่สนับสนุนองค์การธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ภูมิภาคชายฝั่งทะเลตะวันออก ในการเป็นกลไกสำคัญของการพัฒนาศักยภาพทางการแข่งขัน ตลอดจนความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ และเสริมสร้างความได้เปรียบในเชิงแข่งขันให้กับธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่อยู่ในภูมิภาคได้อย่างยั่งยืน

  • ความสำคัญ

     เพื่อเป็นแหล่งสร้างองค์ความรู้ทางการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรมให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ของภูมิภาคเอเชียและโลก นอกจากนี้ ยังเป็นการผลิตบุคลากรด้านการบริหารธุรกิจที่เกี่ยวข้องทางด้านอุตสาหกรรม ทั้งยังเป็นการเสริมสร้างศักยภาพของทุนมนุษย์ และกระจายองค์ความรู้สู่ระดับภูมิภาคของประเทศ

  • วัตถุประสงค์

     หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม เปิดสอนโดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

  1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตทางด้านบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีความสามารถในการจัดการภาคอุตสาหกรรมสินค้าเพื่อรองรับและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกของประเทศ
  2. เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้และส่งเสริมการศึกษาวิจัยในด้านการบริหารจัดการแบบบูรณาการ และมีจริยธรรมให้แก่นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ ผู้บริหาร ทั้งภาครัฐและเอกชน ในสายงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม
  3. เผยแพร่องค์ความรู้ ส่งเสริมการศึกษาวิจัยในด้านการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต ตลอดจนสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  4. ปรับปรุงคุณภาพและส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรหรือผู้ที่ปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญในการพัฒนาบุคลากรที่กำลังทำงานอยู่ให้มีความรู้และทักษะในการจัดการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  5. ขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่บุคลากรภาคเอกชนที่ไม่สามารถลาศึกษาต่อได้ในภาคปกติ และเป็นการสนองนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษาชาติ