หลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (ภาคปกติ)
รายละเอียด
หลักสูตรปริญญาโท
การบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม (ภาคปกติ)
การบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม (ภาคพิเศษ)
การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (ภาคปกติ)
การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (ภาคพิเศษ)
หลักสูตรปริญญาเอก
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (ภาคปกติ)
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย | หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน |
ภาษาอังกฤษ | Master of Business Administration Program in Logistics and Supply Chain Management |
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน) |
ชื่อย่อ | บธ.ม. (การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน) |
ชื่อเต็ม | Master of Business Administration (Logistics and Supply Chain Management) |
ชื่อย่อ | M.B.A. (Logistics and Supply Chain Management) |
โครงสร้างหลักสูตร แผนการเรียน และจำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
แผน ก แบบ ก2 ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
แผน ข ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
- สำหรับนิสิตรหัส 66 เป็นต้นไป (ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต)
รูปแบบของหลักสูตร
รูปแบบ | หลักสูตรปริญญาโท |
ภาษาที่ใช้ | ภาษาไทย |
การรับเข้าศึกษา | รับนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติที่ใช้ภาษาไทยได้ดี |
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น | เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบัน |
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา | ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว |
ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- ปรัชญา
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิต
ที่มีความรู้ความสามารถในด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์และการบริหารจัดการโซ่อุปทาน มีความสามารถใน
การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีทักษะในการสื่อสารและการทำงานในระดับสากล และมีการพัฒนาตนเอง
อย่างต่อเนื่อง ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมโลก ควบคู่ไปกับความมีคุณธรรม
จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม ตลอดจนสามารถบูรณาการองค์ความรู้ทางวิชาการและการ
บริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ตอบรับกับความต้องการของภาคธุรกิจ ยกระดับขีดความสามสามารถของการแข่งขันในระดับอุตสาหกรรม และระดับประเทศทั้งภายในและภายนอกประเทศ
- ความสำคัญ
โลกของการแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบันนี้ ธุรกิจจำเป็นต้องพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์ โดยมุ่งเน้นการ
จัดการกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำในกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องวัตถุดิบ สินค้า ข้อมูลสารสนเทศ และ
ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง ทั้งในด้านการจัดหาสินค้า การวางแผนและการบริการส่งมอบให้กับลูกค้า โดยเริ่มการ
จัดการตั้งแต่การผลิตไปจนถึงกระบวนการจัดการด้านต่างๆ สิ้นสุดที่ผู้บริโภคด้วยการดำเนินงานจัดหาสินค้าและ
บริการตามความต้องการของลูกค้าและผู้ส่งมอบด้วยต้นทุนที่ต่ำ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจสามารถสร้างผลผลตอบแทน
ให้กับกิจการได้มากยิ่งขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สร้างเสริมโอกาสในการแข่งขันและความสามารถ
ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า นำไปสู่การพัฒนาทางธุรกิจอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ตระหนักถึกถึง
ความสำคัญในการสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในศาสตร์ด้านโลจิสติกส์ เพื่อยกระดับความสามารถ
ทางการแข่งขันของภาคธุรกิจ และมุ่งเน้นการบูรณาการศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บุคลากรสามารถพัฒนา
ทักษะในการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ภายใต้แนวคิดและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผ่าน
กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ เรียนรู้กระบวนการวิจัยทางด้านการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การสร้าง
มูลค่าเพิ่มและตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
- วัตถุประสงค์
คณะวิทยาการจัดการได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการผลิตบุคลากรด้านการจัดการโลจิสติกส์ เพื่อ
ตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจและประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ดังค์ดังต่อไปนี้
- ผลิตบุคลากรที่มีความรู้ด้านการการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานที่มีคุณธรรมจริยธรรม และมี
ความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม สามารถวางระบบโลจิสติกส์ กำหนดกลยุทธ์ประเมินผลวิเคราะห์ผลการ
ดำเนินงานทางด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน - มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะความสามารถของบุคลากรในการบูรณาการองค์ความรู้ทางวิชาการและ
การบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ให้สามารถคิดวิเคราะห์เพื่อการแก้ปัญหาทางด้านโลจิสติกส์ และ
ประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบ - มุ่งตอบสนองความต้องการของภาครัฐและภาคธุรกิจ สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงทาง
เทคโนโลยีและบริบททางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักวางแผนและวิเคราะห์โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
- ตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้า
- ที่ปรึกษาทางธุรกิจด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
- ผู้บริหารงานโครงการด้านโลจิสติกส์
- เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
- ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัว